ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลแวงน้อย
เพื่อนำไปสู่เป้าหมายบรรลุวิสัยทัศน์ของจังหวัดขอนแก่นและองค์การบริหารส่วนตำบลแวงน้อย จึงกำหนดยุทธศาสตร์หลักที่จะดำเนินการให้ประสบความสำเร็จรวม 3 ยุทธศาสตร์ และมีแนวทางการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลแวงน้อย จำนวน 15 แนวทาง ซึ่งเป็นการสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดให้บรรลุเป้าประสงค์ ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาความยากจน
เป้าหมาย
เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนระดับครัวเรือนที่ปัจจุบันเกิดจากรายจ่ายเพิ่มขึ้นแต่รายรับคงที่ถึงลดลงโดยเน้นการประกอบอาชีพในท้องถิ่นเป็นหลักมุ่งเน้นการใช้พื้นที่ดินทางการเกษตรทำกินอย่างคุ้มค่าเต็มที่ตลอดทั้งปี และสร้างอาชีพเสริมให้กับทุกกลุ่มคนที่อยู่ในวัยแรงงาน
แนวทางการพัฒนา
1. พัฒนาอาชีพ ยกระดับรายได้ และลดรายจ่าย
2. ส่งเสริมการใช้ที่ดินทำกินอย่างคุ้มค่าตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง
3. ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ โดยเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง
4. พัฒนาความรู้ด้านการผลิตและการตลาดให้กลุ่มอาชีพ
5. ส่งเสริมและพัฒนาสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
6. จัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
ตัวชี้วัด
1. จำนวนประชาชนวัยแรงงานมีงานทำ
2. ครัวเรือนมีรายจ่ายลดลงและมีรายได้เพิ่มขึ้น
3. พื้นที่ทำการเกษตรมีความเพียบพร้อมสามารถรองรับการใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่คุ้มค่า
4. ประชาชนมีความพึงพอใจต่อการบริการจากภาครัฐ
5. ประชาชนมีความรู้ในการประกอบอาชีพเพิ่มขึ้น
2. ยุทธศาสตร์พัฒนาชุมชนอย่างสมดุลและยั่งยืน
เป้าหมาย
เพื่อพัฒนา ฟื้นฟูเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และโครงสร้างพื้นฐานให้ดีขึ้นอย่างสมดุล ปลอดภัยและยั่งยืนโดยการมีส่วนร่วมจากประชาชน
แนวทางการพัฒนา
1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เหมาะสม
2. ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน
3. ป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
4. ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
5. ส่งเสริมการจัดทำระบบผังเมืองและการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเหมาะสมคุ้มค่า
ตัวชี้วัด
1. จำนวนระบบโครงสร้างพื้นฐานมีอย่างพอเพียงและเหมาะสม
2. จำนวนป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติมีเพิ่มขึ้นและสิ่งแวดล้อมดีขึ้นน่าอยู่
3. จำนวนอุบัติเหตุและอาชญากรรมลดลง
4. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจการวางระบบผังเมืองมากขึ้น
5. เป็นพื้นที่ปลอดสิ่งเสพติด
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนมนุษย์
เป้าหมาย
เพื่อเสริมสร้างพัฒนาคนภายในชุมชนทั้งทางด้านจิตใจ ด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น สุขภาพอนามัย สวัสดิการ การกีฬาและนันทนาการ ให้เป็นสังคมที่มีคุณภาพน่าอยู่และพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งเป็นไปตามแนวทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 – 2549)
แนวทางการพัฒนา
1. พัฒนาความรู้และการศึกษาให้ประชาชนทุกกลุ่มวัย
2. ส่งเสริมอนุรักษ์สืบสานศาสนา วัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม และภูมิปัญญาท้องถิ่น
3. เสริมสร้างสุขภาพอนามัยและการสาธารณสุขชุมชน
4. สนับสนุนส่งเสริมระบบสวัสดิการสังคมแก่ผู้ด้อยโอกาสให้ทั่วถึง
ตัวชี้วัด
1. จำนวนชุมชนที่มีความสงบสุขพึงปรารถนาร่วมกัน
2. จำนวนประชาชนที่ได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้น
3. จำนวนประชาชนผู้มีสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตดี
4. มีการจัดกิจกรรมงานอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามสืบทอดเป็นมรดกให้ลูกหลาน
5. ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้รับการดูแลสนับสนุน
6. มีระบบสวัสดิการดูแลผู้ด้อยโอกาสที่ทั่วถึง
|